สมการ
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
นิยาม สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว คือ สมการที่มีตัวแปรหรือตัวไม่ทราบค่า (unknow) และเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็น 1 ตัวแปรอาจปรากฎเพียงข้างใดข้างหนึ่งของเครื่องหมาย “ = ” หรือ ปรากฏทั้งสองข้างแต่ เมื่อจัดรูปให้อยู่ในรูปผลสำเร็จโดยมี x เป็นตัวแปร a , b เป็นค่าคงตัว และ a ไม่เท่ากับ 0 จะอยู่ในรูปแบบ
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะมีค่าคำตอบเพียงค่าเดียวเท่านั้น คือ จำนวนที่เมื่อนำไปแทนค่าตัว แปรในสมการแล้วทำให้สมการนั้นเป็นจริง บางครั้งจะเรียกคำตอบของสมการว่า รากของสมการ คำสั่งของโจทย์ประเภทนี้มักใช้คำว่า จงแก้สมการ จงหาค่า x (ตัวแปรในสมการ ) จงหารากของ สมการหรือจงหารคำตอบของสมการ สมการ 2 สมการจะสมมูลกันก็ต่อเมื่อคำตอบของสมการ ทั้งสองต้องเท่ากัน
การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ต้องอาศัยสมบัติการเท่ากันของจำนวนที่มา จำนวน 2 จำนวน ที่เท่ากันเมื่อเพิ่มหรือตัดออกเท่ากันย่อมเท่ากัน
ตัวอย่างที่ 1 จงหาคำตอบของสมการ 2x – 5 = 8 วิธีทำ จากสมการ 2x – 5 = 8 จะได้ 2 x – 5 + 5 = 8 + 5 (นำ 5 ไปบวกทั้งสองข้าง) x + 7 = 9 จะได้ x + 7 – 7 = 9 – 7 (นำ -7 ไปบวกทั้งสองข้าง ) 3x = 15 1/3 . 3x = 15 . 1/3 (นำ 1/3 ไปคูณทั้งสองข้าง ) (1)x = 5
x = 5 นั่นคือ x = 5
ข้อแนะนำในการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวมีดังนี้
1. ทำให้เป็นผลสำเร็จโดยการจัดให้ตัวแปรและค่าคงตัวอยู่คนละข้างของเครื่องหมาย “
= ”
ตัวอย่างเช่น 3 x + 4 = 10
3x
+ 4 – 4 = 10 – 4
(นำ 4 ลบออกทั้งสองข้าง )
3x =
6
1/3 . 3x = 1/3 . 6
(นำ 1/3 ลบออกทั้งสองข้าง )
ดังนั้น
x = 2
2. ถ้าพบวงเล็บในสมการ
เช่น ( ) . [ ] หรือ
{ } ต้องถอดวงเล็บทิ้งไป
โดยถอดที่ละวงเล็บ และต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง หน้าวงเล็บใดมีเครื่องหมาย
. ”- “ เมื่อถอดวงเล็บออกแล้วต้องเปลี่ยนเครื่องหมายทุก
จำนวนภายในวงเล็บนั้นเป็นจำนวนตรงข้าม
ตัวอย่างเช่น 1 + 2 { 5 – ( 3x – 2 ) } = 3
จะได้ 1 +
2 { 5 - ( 3 x - 2 ) }
- 1 = 3 - 1 (นำ 1
ลบออกทั้งสองข้าง)
2 { 5 - 3x + 2 } =
2 อย่าลืม !
เปลี่ยนเครื่องหมาย
1/2 . 2 { 7 - 3x } = 2 . 1/2 (นำ 1/2 คูณทั้งสองข้าง )
7 - 3x
= 1
7 – 3x – 7 = 1 –
7 (นำ 7 ลบออกทั้งสองข้าง)
-( 1/3 ) . - 3x = -6 ( -1/3 ) (นำ -1/3 คูณทั้งสองข้าง)
ดังนั้น x = 2
การแก้สมการเมื่อจำนวนในสมการส่วนมากอยู่ในรูปเศษส่วน
จะไม่สะดวกในการทำให้เป็นผลสำเร็จ อาจทำให้ “ส่วน ” หมดไปโดยการนำ
ค.ร.น. ของส่วนทั้งหมดคูณตลอดสมการนั้น
โจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
โจทย์ประเภทนี้จะมีข้อความที่ไม่ทราบค่าปรากฏอยู่
และข้อความที่เกี่ยวข้องกับข้อความอื่น ๆ
อีก หลายข้อความในโจทย์นั้น
ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับข้อความนั้น ๆ โดยตรงหรือโดยอ้อม การแก้ปัญหา เกี่ยวกับโจทย์สมการก็คือการหาคำตอบของโจทย์นั่นเอง
โดยวิธีการกำหนดตัวแปรแทนข้อความที่ไม่ทราบค่านั้น (นิยมใช้ x เป็นตัวแปร ) แล้วเขียน
ข้อความอื่น ๆในรูปของ x นี้
สร้างสมการขึ้นมา
ตัวอย่างเช่น ก มีเงินมากกว่า ข อยู่
12 บาท ก กับ
ข มีเงินรวมกัน 88 บาท ก มีเงิน เท่าไหร่
วิธีทำ ให้
ก มีเงิน x บาท จะได้ ข
มีเงิน x – 12 บาท
ก และ ข มีเงินรวมกัน 88
บาท
สมการคือ
x
+ ( x - 12 ) = 88
2x = 88 + 12
x = 50
ข้อแนะนำในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาสมการทั่วๆ ไป
มีดังนี้
1 ) เมื่ออ่านปัญหาโจทย์แล้วจะต้องกำหนดตัวแปรแทนข้อความที่ยังไม่ทราบค่าในโจทย์ซึ่งอาจมี
หลาย ข้อความโดยทั่วไป มักจะกำหนดตัวแปรแทนข้อความที่โจทย์ถาม แต่ไม่จำเป็นต้องทำเช่นนี้ทุก ครั้ง ทั้งนี้เนื่องจากบางครั้งการทำเช่นนี้จะทำให้เข้าสมการ
(เขียนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับข้อความอื่นๆ ที่ปรากฎในโจทย์ ) ไม่สะดวกหรืออาจทำได้ยากกว่าการกำหนดตัวแปรแทน ข้อความอื่น (ที่โจทย์มิได้ถาม) ซึ่งมีความคล่องในการเขียนสมการสมพันธ์กับข้อความต่าง ๆ ที่ปรากฏในโจทย์ แต่ต้องระวังเวลา ตอบต้องไม่ตอบค่าของตัวแปรนั้น จะต้องนำค่าตัวแปรไปแทนข้อความที่โจทย์ถาม
ตัวอย่างเช่น สี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปหนึ่งมีเส้นรอบรูปยาว 14 นิ้ว มีด้านยาวยาวกว่าสองเท่าของด้านกว้าง อยู่
1 นิ้ว สี่เหลี่ยมนี้มีพื้นที่เท่าใด
วิธีทำ กำหนดตัวแปร
(x) แทนข้อความที่โจทย์ถามจะไม่สะดวก
จึงควรกำหนดให้สี่เหลี่ยมมี
ด้านกว้าง x นิ้ว
ด้านยาวจะยาว 2 x + 1
นิ้ว เส้นรอบรูปยาว
14 นิ้ว
เข้าสมการได้
2 [ x + ( 2 x + 1 )] = 14
3 x
+ 1 = 7
x = 2
ดังนั้น ด้านกว้างยาว เท่ากับ
2 นิ้ว
ด้านยาวยาว
เท่ากับ 2 ( 2 )
+ 1 = 5 นิ้ว
นั้นคือ สี่เหลี่ยมผืนผ้ามีพื้นที่เท่ากับ
2 ( 5 ) = 10 ตารางนิ้ว
ข้อสังเกต ยังนิยมใช้ x เป็นตัวแปรแทนข้อความที่ไม่ทราบค่าหลังคำว่า “ของ ” เช่น ในข้อแนะนำ ข้อที่
1 มีข้อความว่า
ด้านยาวยาวกว่าสองเท่าของด้านกว้างอยู่
1 นิ้ว
ให้
ด้านกว้างยาว
x
นิ้ว
ดังนั้น
ด้านยาวจะยาว 2 x + 1 นิ้ว
การแก้สมการ คือ การหาค่าของตัวแปรในสมการที่ทำให้สมการเป็นจริงโดยอาศัยสมบัติการเท่ากันของจำนวนจริง
ดังนี้
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว คือ สมการที่มีตัวแปรเพียงตัวเดียว
และเลขขี้กำลังของตัวแปรเป็น
1 สมการ เชิงเส้นตัวแปรเดียวจะสามารถเขียนให้อยู่ในรูปอย่างง่าย
ดังนี้ ax + b = 0 เมื่อ a, b เป็นค่าคงตัว
และ a ไม่ เท่ากับ 0 เช่น
2x
+ 3 = 0
2a + 1 = 0
สมบัติการเท่ากันของจำนวนจริง
เมื่อ a, b และ c เป็นจำนวนจริง
1) สมบัติสมมาตร ( symmetric
property)
ถ้า
a = b แล้ว b = a
2) สมบัติการถ่ายทอด ( transitive property)
ถ้า a = b และ b = c แล้ว a = c
3) สมบัติการแจกแจงหรือการกระจาย ( distributiveproperty)
a (b+c) = ab + ac
4) สมบัติการบวก ( additiveproperty)
ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c
หรือ
a - c = b -
c
5) สมบัติการคูณ ( multiplicative property)
ถ้า a = b แล้ว a x c = b x c
หรือ a / c = b / c เมื่อ c ไม่เท่ากับ
0
การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
VIDEO
ที่มา
https://sites.google.com/site/sayrungphinyasri/smkar-cheing-sen-tawpaer-deiyw
12/09/2556
http://www.youtube.com/watch?v=kDd89MWL9xU